
ฉายแสง ลดอาการบวมหลังการผ่าตัด ศัลยกรรม
กันยายน 12, 2023
7 สาเหตุหลักของ ร่องแก้ม ทำให้ใบหน้าแก่เกินวัย
กันยายน 17, 2023แน่นอนว่าการฉีดฟิลเลอร์ (Filler) เป็นหัตถการด้านความงาม ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเวลานี้ เพราะเป็นหัตถการที่ทำแล้วเห็นผลลัพธ์ สามารถเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้ในทันที ทั้งยังเป็นหัตถาการ ที่ใช้ปรับรูปหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ นั้นต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ ที่ทำการฉีดฟิลเลอร์ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแบ้วการเกิดผลเสียตามมาได้ โดยเฉพาะฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อนขรุขระ อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง เช่น ฉีดฟิลเลอร์ปาก เป็นก้อนแข็ง ต้องแก้ไขด้วยการ ฉีดสลายฟิลเลอร์
ปัญหาที่พบได้หลังจากการฉีดฟิลเลอร์
สำหรับการฉีดสารเติมเต็มอย่างฟิลเลอร์ ที่เป็นประเภท HA เพื่อการปรับรูปหน้า หรือเพื่อการเพิ่มความอิ่มน้ำ ความชุ่มชื้นให้กับผิว ถึงแม้ว่าจะเป็นสารที่ปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย.ไทย แล้วก็ตาม ในการฉีดฟิลเลอร์ก็จะสามารถ พบกับอาการข้างเคียง หรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ได้ รวมไปถึงการไม่พึงพอใจในผลลัพธ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหาที่พบได้หลัวจากการฉีดฟิลเลอร์มีดังนี้

ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน
หลังฉีดฟิลเลอร์ แล้วพบว่าฟิลเลอร์นั้นรวมตัวกันเป็นก้อน อาจจะพบว่าเป็นก้อนแบบเดี่ยว ๆ ตรงบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ แต่ไม่มีอาการบวมแดง อักเสบ ติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อสัมผัสกับก้อนฟิลเลอร์ จะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งสาเหตุที่ทำมห้ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อนมักมี ดังนี้
- ใช้เทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง : เป็นการฉีดฟิลเลอร์ในชั้นที่ตื้น อาจจะเกิดจากที่แพทย์ผู้ฉีดไม่มีความชำนาญมากพอ หรือค่อนข้างไม่แม่นยำในเรื่องกายวิภาคบนใบหน้า ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้น และขาดประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์ มีการคำนวณปริมาณฟิลเลอร์ที่ต้องใช้ในแต่ละจุดไม่เหมาะสม ทำให้ฉีดฟิลเลอร์มากเกินไป
- ฟิลเลอร์เคลื่อนตัว : การที่แพทย์ฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้น ทำให้ฟิลเลอร์เกิดการเคลื่อนตัว ไปยังตำแหน่งอื่น บนใบหน้าในส่วนที่มีการขยับอยู่เป็นประจำ เช่น ร่องแก้ม หรือขมับ ทำให้ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน
- ตัวยาฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน : ทั้งนี้หมายถึงการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน อย.ไทย หรือการเลือกใช้ฟิลเลอร์ประเภทอื่น ที่ไม่ใช่กรดไฮยาลูโรนิค (HA) จึงทำให้เมื่อเวลาผ่านไป ฟิลเลอร์ไม่มีการสลายตัว และจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง
อาการข้างเคียงที่เป็นอันตราย
อาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายที่มาพร้อมกับการจับตัวเป็นก้อนของฟิลเลอร์ นั้นก็คืออาการอักเสบ และอาจมีหนองร่วมด้วย หรือพบว่ามีอาการแพ้ฟิลเลอร์ สามารถสังเกตได้จาก การที่สัมผัสแล้วพบก้อนฟิลเลอร์หลายก้อน เป็นก้อนขรุระ มีอาการบวมแดง และเจ็บตรงบริเวณที่สัมผัส
- อาการติดเชื้อ : สาเหตุของการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการทำหัตถการ อาจเกิดจากการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การฉีดฟิลเลอร์ปลอม การปนเปื้อนจากการที่ใช้เครื่องมือที่ไม่ปลอดเชื้อ อาการติดเชื้อจะพบว่าฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน มีความบวมแดง และเป็นหนอง
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ : หลังจากการฉีดฟิลเลอร์ อาจจะเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย นำไปสู่อาการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ การที่ร่างกายต่อต้านฟิลเลอร์ HA เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างยาก อาการแพ้ฟิลเลอร์ จะพบว่ามีอาการบวมแดงหลังจากที่ฉีดไปนานเป็นสัปดาห์แล้ว
ตำแหน่งที่มักพบอาการ ฟิลเลอร์เป็นก้อน
- ใต้ตา : อาจเกิดได้จากการ ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป หรือการเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสมกับบริเวณที่ฉีด ทำให้สังเกตเห็นฟิลเลอร์นูนเป็นก้อนที่บริเวณใต้ตา
- หน้าผาก : เกิดจากการที่ฉีดฟิลเลอร์ในชั้นผิวที่ตื้นมากเกินไป ทำให้เห็นฟิลเลอร์ในบักษณะที่เป็นคลื่น ผิวไม่เรียบเนียน
- ปาก : การที่ ฉีดฟิลเลอร์ปาก เป็นก้อนแข็ง มักจะเกิดจากการที่ฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป ปากอวบอิ่มเกินพอดี และเกิดได้จากการเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ฉีด ทำให้ผลลัพธ์ออกมาไม่น่าพอใจ ปากไม่ได้รูป
- คาง : การฉีดฟิลเลอร์คาง แล้วเกิดอาการคางเป็นก้อน คางย้วย คางยาวแหลมดูผิดธรรมชาติ คางไม่สวยได้รูป เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์คางในผิวชั้นที่ตื้นเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อดึงฟิลเลอร์มารวมกันเป็นก้อน
- ร่องแก้ม : เกิดจากการที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง การใช้เทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือเป็นการฉีดเข้าไปที่ร่องแก้มโดยตรง และฉีดในชั้นผิวที่ไม่ลึกมากพอ ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปก็จะเคลื่อนที่ไปกองเป็นก้อน เหนือบริเวณร่องแก้ม
การฉีดสลายฟิลเลอร์
การฉีดสลายฟิลเลอร์ จะเป็นการนำเอาเอ็นไซม์ที่เรียกว่า ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) ที่ออกฤทธิ์สลายตัวฟิลเลอร์ที่เป็น กรดไฮยาลูโรนิก (HA) ฉีดเข้าไปยังบริเวณที่เคยฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้ฟิลเลอร์ที่จับตัวอยู่เป็นก้อน สลายตัวออหจากร่างกาย เป็นการแก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ที่จับตัวเป็นก้อน ที่มีขั้นตอนที่สะดวกมากที่สุด และเห็นผลลัพธ์ได้ค่อนข้างรวดเร็ว สำหรับการฉีดสบายฟิลเลอร์จะใช้ได้เฉพาะกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ ประเภท HA เท่านั้น
- ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ : ถ้าหากฉีดฟิลเลอร์มาแล้วไม่ว่าจะเป็นการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก หรือฟิลเลอร์คาง แล้วไม่พอใจในผลลัพธ์ สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ เพื่อให้กลับไปเหมือนตอนก่อนฉีดได้
- เกิดภาวะแทรกซ้อน : ถ้าหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หลังจากการฉีดฟิลเลอร์ ก็สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้
- ฟิลเลอร์สลายตัวไม่หมด : การฉีดฟิลเลอร์ประเภท HA จะเกิดกระบวนการที่ฟิลเลอร์สลายตัวตามธรรมชาติ แบบปกติ ซึ่งในบางจุดฟิลเลอร์สลายตัวไม่พร้อมกัน สลายตัวออกไม่หมด ก็ทำให้สังเกตเห็นฟิลเลอร์เป็นก้อน ซึ่งก็อาจจะต้องพึ่งการฉีดสลายฟิลเลอร์ เพื่อเร่งกระบวนการสลายตัวนั่นเอง

ก่อนการฉีดสลายฟิลเลอร์ คสรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการรักษา ในบางกรณีอาจจะต้องทำการฉีดสลายฟิลเลอร์มากกว่า 1 ครั้ง และการใช้ยาสลายฟิลเลอร์ ในแต่ละเคสก็จะใช้ปริมาณที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนฟิลเลอร์ ปริมาณฟิลเลอร์ที่ตกค้าง และจุดที่พบการจับตัวเป็นก้อนของฟิลเลอร์
ขั้นตอนในการฉีดสลายฟิลเลอร์ จะมีการทำความสะอาดผิวบริเวณที่ต้องการฉีด มีการใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บในระหว่างการฉีดสลาย จากนั้นถึงทำการฉีดไฮยาลูโรนิเดส เพื่อเข้าไปลดการกักเก็บน้ำ ไขมัน ทำลายการยึดเกาะของฟิลเลอร์ และผลลัพธ์หลังจากที่ฉีดสลายฟิลเลอร์ไปแล้ว ก็คือ ผิวบริเวณที่ฉีดจะถูกปรับให้กลับมาเรียบเนียน ใกล้เคียงกับตอนก่อนฉีดฟิลเลอร์