
ผลข้างเคียงของการฉีด โบ ที่คุณอาจไม่เคยรู้
พฤษภาคม 7, 2023
ฟิลเลอร์ กับ โบ เลือกฉีดยังไง ? ให้เหมาะกับช่วงวัยของคุณ
พฤษภาคม 14, 2023ปัญหาร่องลึก อยากเติมเต็มในส่วนที่ขาดหาย เพื่อเสริมให้ใบหน้าดูมีมิติและโครงหน้าดูดีมากขึ้น แต่ยังคงกลัวการผ่าตัดหรือไม่ต้องการทำศัลยกรรม ฟิลเลอร์อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับใครหลายคน ในการเพิ่มหรือเสริมความมั่นใจให้กับใบหน้า โดยในบทความนี้จะนำข้อมูลเกี่ยวกับการ ฉีดฟิลเลอร์ เพื่อที่จะได้เป็นไกด์นำทางชั้นเยี่ยมสำหรับผู้ที่มีความสนใจในศาสตร์ของฟิลเลอร์ หรือมือใหม่ที่มีความต้องการอยากปรับหรือเสริมส่วนใดส่วนหนึ่งให้สอดรับเข้ากับใบหน้า ให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ คืออะไร? มารู้จักกับฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์ คือ สารที่ช่วยในการเติมเต็มให้กับใบหน้า ในส่วนของผู้ที่ต้องการเสริมหรือมีปัญหาในแง่ของใบหน้า อาทิ ปากบางไม่เป็นทรง คางสั้น คางถอย มีริ้วรอยร่องลึกใต้ตา เป็นต้น ฟิลเลอร์เป็นสารเติมเต็มที่ชื่อว่า สารไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) หรือที่เรียกกันว่า HA ฟิลเลอร์จะช่วยเติมเต็มในส่วนของชั้นในผิวหนังและใต้ผิวหนัง ส่งผลให้เกิดความกระชับ ดูอ่อนเยาว์ สดใสมากขึ้น
ฟิลเลอร์มีกี่ชนิด? มีประเภทใดบ้าง?
โดยทั่วไปแล้วฟิลเลอร์มีทั้งหมด 3 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่
- ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว หรือ Temporary Filler เป็นฟิลเลอร์ที่ถือได้ว่ามีความปลอดภัยสูงที่สุดในบรรดาทั้งหมด เนื่องจากเป็นฟิลเลอร์ที่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ อยู่ได้นาน 6 – 24 เดือน (แล้วแต่รุ่นและแบรนด์) นอกจากนี้ยังเป็นฟิลเลอร์ชนิดเดียวที่มีการยืนยันให้ผ่านมาตรฐานจากสำนักกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยเป็นฟิลเลอร์ชนิดสารเติมเต็ม Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งหลังจากที่ฟิลเลอร์สลายตัวแล้ว สามารถเติมใหม่ได้เรื่อย ๆ
- ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร หรือ Semi Permanent Filler ฟิลเลอร์ที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากสำนักกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างเป็นทางการ ลักษณะของฟิลเลอร์ชนิดนี้เมื่อฉีดเข้าที่ใบหน้าแล้วจะมีการย่อยสลายจริง แต่จะไม่ได้ย่อยสลายจนหมดเหมือนฟิลเลอร์แบบชั่วคราว ประกอบด้วยสาร PLLA (Poly-L-lactic acid), พลาสติกสังเคราะห์ (Polyalkylimide) หรือสารแคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) และเนื่องจากฟิลเลอร์ชนิดนี้ไม่มีการสลายตัวทั้งหมด จึงอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ฟิลเลอร์เป็นก้อน หรือส่วนที่ฉีดฟิลเลอร์เกิดการอักเสบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร หรือ Semi Permanent Filler แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยืนยันมาตรฐานในไทย แต่ก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
- ฟิลเลอร์แบบถาวร หรือ Permanent Filler มีส่วนประกอบจากสารเติมเต็มโพลีเมธิลเมธาไครเลต หรือ PMMA คือพลาสติกสังเคราะห์ที่ปรากฏในฟิลเลอร์แบบถาวร ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติได้ นอกจากนี้ยังส่งผลข้างเคียงในระยะยาว อาทิ กลายเป็นพังผืดติดกับใบหน้า ฟิลเลอร์ไหลหรือย้อยผิดรูป ในกรณีนี้การจะนำฟิลเลอร์แบบถาวรออกจำเป็นจะต้องขูดหรือทำการผ่าตัดออกเท่านั้น ไม่มียาฉีดสลายฟิลเลอร์แบบถาวร
ฟิลเลอร์ เติมจุดไหนดี? นิยมฉีดบริเวณไหนบ้าง?

- หน้าผาก การเติมฟิลเลอร์หน้าผาก จะช่วยแก้ปัญหาในผู้ที่มีหน้าผากแบน ไม่มีมิติหรือหน้าผากยื่นออกมาไม่เท่ากัน อีกทั้งผู้ที่ต้องการปรับหรือเสริมโหงวเฮ้งหน้าผากก็ทำได้เช่นเดียวกัน การเติมฟิลเลอร์หน้าผากจะช่วยให้หน้าผากมีความสม่ำเสมอ มีมิติ และดูดีมากยิ่งขึ้น
- ใต้ตา การเติมฟิลเลอร์ใต้ตา จะช่วยในการแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีถุงใต้ตา ใต้ตามีความหย่อนย่น หย่อนคล้อย ดูไม่สดใส มีริ้วรอยหรือร่องลึกใต้ตา การเติมฟิลเลอร์ใต้ตา จะช่วยให้ฐานใต้ตาดูเต็มและดูอิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หลังจากการเติมฟิลเลอร์ใต้ตามักเห็นความแตกต่างก่อนและหลังทำอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากทำให้องค์ประกอบใบหน้าโดยรวมมีความสดใสและดูอ่อนเยาว์มากยิ่งขึ้น
- คาง การเติมฟิลเลอร์คาง ช่วยในการแก้ปัญหาของผู้ที่มีคางสั้น คางเล็ก คางหลุบ คางหยัก คางเบี้ยว เอียง การเติมเต็มด้วยฟิลเลอร์จะช่วยให้คางมีความสมมาตร สร้างมิติสอดรับกับใบหน้าได้มากขึ้น ทำให้ใบหน้าดูเรียวยาว และส่งผลให้เป็นโครงหน้ารูปแบบไข่ที่สามารถเข้าได้กับทุกทรงผมอีกด้วย
- ร่องแก้ม การเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มจะช่วยดันส่วนที่เป็นร่องลึกให้เต็มและดูตื้นขึ้นมา ส่งผลให้ใบหน้ามีความอ่อนเยาว์และดูเด็กมากขึ้น เหมาะสำหรับวัยผู้ใหญ่ที่ต้องการลดอายุหรือดูเด็กมากขึ้นแต่ยังไม่อยากผ่าตัดหรือศัลยกรรม
- ปาก การเติมฟิลเลอร์ปากเป็นอีกหนึ่งวิธียอดฮิตของผู้ที่ต้องการเสริมหรือเติมให้ปากดูอวบอิ่ม ชุ่มชื้นและเป็นทรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการริมฝีปากแห้งแตกได้อีกด้วย
ฟิลเลอร์อันตรายไหม? ใครไม่ควรฉีดฟิลเลอร์บ้าง?
ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว หรือ Temporary Filler ที่มีชนิดสารเติมเต็ม Hyaluronic Acid (HA) โดยในทางการแพทย์มีการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นอันตรายและสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ 100% ดังนั้น การฉีดฟิลเลอร์แล้วเกิดอันตราย ส่วนใหญ่มาจากข้อผิดพลาด ได้แก่
- แพทย์ที่ ฉีดฟิลเลอร์ ไม่มีความชำนาญพอ ฉีดด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้องหรือฉีดพลาดเข้าสู่เส้นเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือแม้กระทั่งทำให้ตาบอดได้
- ฟิลเลอร์ปลอม โดยสถานที่รับบริการฉีดฟิลเลอร์นั้น ใช้ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้รับการยืนยันมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือการใช้ฟิลเลอร์ถาวร ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ ติดเชื้อในกระแสเลือด อุดตันจนถึงขั้นเส้นเลือดแตกได้ โดยฟิลเลอร์แท้สามารถตรวจสอบเลขและสแกนเช็คที่กล่องได้
นอกจากนี้กลุ่มคนที่ห้ามฉีดฟิลเลอร์ เนื่องจากอาจมีผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา ได้แก่
- มีอาการแพ้ ควรแจ้งแพทย์ให้ละเอียดก่อนการฉีดฟิลเลอร์ว่าแพ้อะไรบ้าง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
- ผู้ที่มีภาวะเลือดหยุดไหลยากหรือเลือดไหลไม่หยุด
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคผิวหนัง หรือมีสิวอักเสบ ผื่น ลมพิษ
- คุณแม่ที่กำลังมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
เตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์ ต้องทำอย่างไรบ้าง?
- งดแอลกอฮอล์ 1 – 3 วัน ก่อนทำการฉีดฟิลเลอร์เข้าสู่ร่างกาย
- งดทาครีมหรือยาที่มีส่วนช่วยในการผลัดเซลล์ผิว บริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์
- งดการทำเลเซอร์
- งดยาละลายลิ่มเลือด ยาแก้ปวด วิตามิน อาหารเสริม 3 – 7 วัน ก่อนการฉีดฟิลเลอร์
- งดยาหรืออาหารเสริมที่กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
ข้อมูลทั้งหมดนี้ เปรียบเสมือนคู่มือเบื้องต้นที่จะช่วยให้ผู้ที่มีความสนใจหรือมือใหม่ต้องการที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ ภายใต้หัวข้อฟิลเลอร์คืออะไร ฟิลเลอร์มีกี่ประเภท ฟิลเลอร์เติมจุดไหนดี ฟิลเลอร์อันตรายหรือไม่ และการเตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์ ให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์และสามารถนำไปปฏิบัติตามได้