
ไหมสเต็มเซลล์ ฟื้นฟูผิวหน้าให้อ่อนกว่าวัย
เมษายน 6, 2023
ฟิลเลอร์ Midface คืนความอ่อนเยาว์ให้กับใบหน้า
เมษายน 9, 2023พิษที่สร้างจากแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) มีคุณสมบัติที่ทำให้เกิด อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทางการแพทย์จึงนำเอาสารพิษนี้ มาใช้ในการรักษาริ้วรอย ความหย่อนคล้อยของใบหน้า ซึ่งพิษจากแบคทีเรียนี้ มีชื่อที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โบ ในครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักกับ คุณประโยชน์ทั้ง 7 อย่างของการ ฉีดโบ ที่นอกเหนือจากด้านความงามแล้ว ยังนำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ กล้ามเนื้อ ได้อีกด้วย
โบ คืออะไร ?
โบ หรือ โบทูลินัม ทอกซิน เป็นโปรตีนที่ได้จากแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับโปรตีนชนิดนี้ เพื่อนำเอามาใช้รักษาในทางการแพทย์ โบส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยที่การออกฤทธิ์ของโบ จะปิดกั้นสารสื่อประสาท อะซิติลโคลีน ที่ตรงรอยต่อของเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้น้อยลง โดยส่วนใหญ่ทางการแพทย์จะใช้รักษา ริ้วรอยบนใบหน้า และการปรับรูปหน้า เพราะผิวตรงบริเวณที่ ฉีดโบ จะดูเรียบเนียน ดูอ่อนเยาว์ขึ้น

และด้วยคุณสมบัติเด่น ของโบที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ จึงสามารถ นำมาใช้ในการรักษาอาการอืน ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ใช้รักษาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อตา อาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ อาการกระตุกของกล้ามเนื้อ และอาการตึงที่เกิดจากสภาวะต่างๆ เช่น สมองพิการ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และการบาดเจ็บของไขสันหลัง เหงื่อออกมาก และภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน รวมไปถึงใช้รักษา โรคไมเกรนเรื้อรังด้วย
ประโยชน์ทั้ง 7 อย่างของ โบทูลินัม ทอกซิน
- ลดเลือนริ้วรอย
การใช้โบ เพื่อการลดเลือนริ้วรอย ได้รับความนิยมสูงสุด ในด้านการเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นริ้วรอยรอบดวงตา ริ้วรอยที่บริเวณหน้าผาก หางตา ริ้วรอย ร่องลึกปริเวณปาก การทำงานของโบ คือจะทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณที่ฉีดคลายตัวลง ร่องลึก เส้นริ้วรอย จึงดูเรียบเนียนขึ้น
- ลดขนาดของกราม
การฉีดโบ เพื่อปรับรูปหน้าให้หน้าเรียว เป็นทรง V-Shape หรือการฉีดโบกราม จะทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุม การทำงานของกราม ทำงานลดลง จึงทำให้กรามดูมีขนาดเล็กลง รูปหน้าเรียวขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการฉีดโบ เพื่อยกกระชับกรอบหน้า หรือที่เรียกว่า โบลิฟท์กรอบหน้า เพื่อทำให้ใบหน้าสวยเข้ารูป กรอบหน้าชัด ยิ่งทำโบกราม กับโบลิฟท์กรอบหน้าควบคู่กัน ยิ่งเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
- ปรับโทนผิว
โดยปกติแล้วโบ จะฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อโดยตรง เพื่อคล้ายกล้ามเนื้อในส่วนที่ฉีดเพื่อปรับรูปหน้า แต่ในปัจจุบันมีการฉีดลงไปในชั้นผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายชั้น จะเรียกหัตกรานี้ว่า สกินโบ เมื่อฉีดตัวยาลงไปในชั้นผิวแล้วจะช่วยปรับให้ผิวมีโทนที่สว่างขึ้น ลดเลือนริ้วรอยที่ผิวหน้า กระชับรูขุมขน และยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวและผิวก็ยกกระชับขึ้นด้วย
- รักษาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
อาการกระตุกของกล้ามเนื้อ หรืออาการตึงจากสภาวะต่าง ๆ สมองพิการ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง มักจะใช้โบในการรักษาอาการเหล่านี้ หลังจากที่ฉีดตัวยาเข้าไปตรงกล้ามเนื้อที่มีการเกร็ง หรือกระตุก โบจะทำให้การหดเกร็งของกล้ามเนื้อลดลง จึงทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีขึ้นด้วย
- อาการไมเกรนเรื้อรัง
สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนเรื้อรัง โบท็อกซ์เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง เมื่อฉีดเข้าไปเฉพาะจุดบริเวณศีรษะและคอ โบจะไปยับยั้งการปล่อยสารสื่อประสาท ที่ส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมอง และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า ที่หดเกร็งอยู่คลายตัวลง จึงทำให้สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะ และความถี่ของอาการไมเกรนก็ลดลงด้วย
- รักษาภาวะที่เหงื่อออกมากเกินไป
สำหรับคนที่มีภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติ จนทำให้สูญเสียความมั่นใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถฉีดโบ เพื่อยับยั้งการทำงานของต่อมเหงื่อ และกระชับรูขุมขนได้ เพื่อทำให้เหงื่อลดลง ซึ่งการฉีดโบสามารถทำให้เหงื่อลดได้มากกว่า 80 % และทำให้มั่นใจมากขึ้นสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน
- ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน
ภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เป็นเพราะกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัว ทำให้ปัสสาวะบ่อย การฉีดโบ สามารถรักษาอาการนี้ได้ เพราะโบจะเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะคลายตัว ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนนี้ลดลง ความถี่ที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวจึงลดลงด้วย
โบทูลินัม ทอกซิน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งการรักษาอาการที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และระบบประสาท รวมไปถึงการใช้โบ เพื่อการเสริมความงาม แต่สิ่งสำคัญในการใช้ คือ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ก่อนเข้ารับการรักษา ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์สามารถคำนวณปริมาณการใช้ตัวยาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับบริเวณที่จะฉีด
เพราะถึงแม้ว่าจะมีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่โบก็สามารถส่งผลกระทบ และอาการข้างเคียงได้เช่นกัน ถ้าหากใช้ผิดวิธี หรือใช้เทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาการแพ้ หรืออาจร้ายแรงมากถึงขนาดที่เป็นภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจจะส่งผลกระทบทำให้หายใจลำบาก เป็นต้น