
ทำคาง ที่ไหนดี ถึงจะสวยปัง ไม่พังเป็นก้อน
มีนาคม 7, 2023
เคล็ดลับที่จะทำให้ผิวฉ่ำวาว หลังฉีด Rejuran
มีนาคม 12, 2023โดยปกติแล้วการฉีด ฟิลเลอร์แท้ ที่เป็นสารเติมเต็มประเภท Hyaluronic acid เมื่อฉีดไปแล้วเนื้อฟิลเลอร์จะเนียนกลืนไปกับผิว อาจจะจับเนื้อฟิลเลอร์ได้ในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากการฉีดฟิลเลอร์ไม่ควรมีอาการบวม หรือเป็นก้อน ซึ่งปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้ตามบริเวณที่ ฉีด Filler ด้วยกันหลายจุด เช่น ใต้ตา คาง และปาก และสาเหตุที่ทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนหลังฉีดจะเกิดจากอะไรบ้างนั้น คนที่กำลังจะฉีดฟิลเลอร์ต้องห้ามพลาด
ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?
- เทคนิคและประสบการณ์ของแพทย์ : หากแพทย์ที่ทำการฉีดฟิลเลอร์ ไม่มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ ในการฉีดไม่มากพอ ขาดความรู้ในตัวฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด อาจทำให้เสี่ยงต่อการฉีดฟิลเลอร์แล้ว ได้ผลลัพธ์ที่ไม่เรียบเนียน และเป็นก้อนได้
- ฟิลเลอร์ปลอม : เป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานอย.ไทย วิธีสังเกตฟิลเลอร์ปลอมคือ ราคาถูกแต่ไม่มีคุณภาพ ช่วงแรกที่ฉีดอาจสวยงามเรียบเนียน แต่หลังจากนั้น อาจจะเกิดการเกาเป็นกลุ่มเป็นก้อนไหล ไม่เป็นทรง บางตัวฉีดไปแล้วจับตัวเป็นก้อนแข็ง ซึ่งประเภทนี้จะเรียกกันว่าซิลิโคนเหลว คือฉีดแล้วไม่สลายไป อาจเป็นอันตรายได้
- ชนิดของฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับบริเวณที่ฉีด : ชนิดของฟิลเลอร์ กับบริเวณตำแหน่งที่ฉีดสำคัญมาก เช่น เนื้อฟิลเลอร์ที่มีความเข้มข้นสูงควรฉีดในชั้นผิวชั้นลึก หากทำการฉีดตื้นเกินไป เมื่อคนไข้ขยับแสดงสีหน้า จะทำให้ดันฟิลเลอร์จนเป็นก้อน และสังเกตเห็นเป็นลำขึ้นได้
- ปริมาณของฟิลเลอร์ที่ใช้ : ปริมาณฟิลเลอร์ที่ใช้ ต้องมีความเหมาะสมกับปัญหาแต่ละจุด ไม่ควรเติมจนดูแน่นฟูเกินไป เพราะเมื่อเวลาผ่านไปตัวฟิลเลอร์ จะดูดซึมน้ำทำให้ฟูขึ้นกว่าเดิม ในการเติมควร มีการเหลือช่องว่างเล็กน้อย เพื่อให้ฟิลเลอร์ฟูขึ้นอีก

ฟิลเลอร์ที่ผ่าน อย.ไทย มียี่ห้อไหนบ้าง ?
ฟิลเลอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ความปลอดภัย จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. (Food and Drug Administration: FDA) ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวัง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และควบคุมไม่ให้ มีการโฆษณาสินค้าเกินจริง ฟิลเลอร์ ที่ผ่านมาตรฐานต้องเป็น สารเติมเต็มชนิดที่เป็น “ไฮยาลูโรนิคแอซิด (HA )” เท่านั้น
หากเป็นสารเติมเต็มชนิดอื่น จะไม่ผ่านมาตรฐานอย. ไทย ทั้งหมด ปัจจุบันมีฟิลเลอร์ที่ผ่านมาตรฐาน อย.ไทย แล้วหลายยี่ห้อ สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม ของแต่ละบริเวณที่ฉีด และต้องเป็นแพทย์ที่มีความชำนาญการ เป็นผู้ประเมินเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด
- Juvederm เป็นยี่ห้อที่นำเข้าจากอเมริกา มีกระบวนการผลิตด้วย 2 เทคโนโลยี Hylacross และ Vycross Technology มีหลายรุ่นสามารถแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกส่วน จุดเด่นคือ เป็นฟิลเลอร์ที่มีคุณภาพสูง ถูกออกแบบมาให้มีส่วนผสมของยาชา (Lidocaine) จึงช่วยให้ขณะฉีดไม่รู้สึกเจ็บ อุ้มน้ำดี บวมน้ำน้อย สามารถยืดหยุ่นได้สูง
- Restylane เป็นยี่ห้อฟิลเลอร์ที่ผ่าน อย.สัญชาติสวีเดน มีเอกลักษณ์คือช่วยลดริ้วรอย ร่องลึก รอยพับได้เป็นอย่างดีมีอยู่ทั้งหมด 8 รุ่น ส่วนรุ่นอื่น ๆ หากมีให้เห็น อาจจะเป็นของปลอม ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้นำเข้าอย่างถูกต้อง
- Neuramis ฟิลเลอร์แบรนด์ดังจากเกาหลี ราคาคุ้มค่ามีคุณภาพที่เทียบเท่าแบรนด์ใหญ่ๆได้ จุดเด่นคือฟิลเลอร์คงทน สามารถอยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น จากกระบวนการทำงานเฉพาะของฟิลเลอร์ Neuramis คือ Cross-linking 2 ระดับ
- Yvoire ฟิลเลอร์จากประเทศเกาหลีใต้ที่ผลิตและพัฒนาสูตรโดยบริษัท LG Chem ใช้เทคโนโลยีในการผลิต HICE Cross-linking Technology ที่ช่วยให้โมเลกุลของฟิลเลอร์เชื่อมโยงยึดติดกันแน่น ยึดเกาะบนผิวได้นาน เนื้อมีความนุ่ม ผลลัพธ์หลังทำมีความเรียบเนียนดูเป็นธรรมชาติ
- E.P.T.Q. ฟิลเลอร์จากประเทศเกาหลีใต้ ชื่อเต็มของแบรนด์คือ Efficiency, Potential, Technology, และ Quality ทำการผลิตภายใต้การควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน EP (European Pharmacopoeia) ทำให้มั่นใจในความปลอดภัยของฟิลเลอร์ โดยเนื้อผลิตภัณฑ์จะมีความหนืด ยืดหยุ่นได้ดี ให้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ
วิธีแก้ไขฟิลเลอร์เป็นก้อน
การแก้ไข ฟิลเลอร์เป็นก้อน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เพื่อให้แพทย์หาวิธีที่เหมาะสมที่สุด ในการแก้ไขปัญหา เพราะการแก้ไขต้องใช้อาศัยมีความชำนาญแบบเฉพาะทางเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีวิธีการแก้ไข 3 วิธี ดังนี้
- การฉีดสลายฟิลเลอร์ : หากเป็นการ ฉีด Filler แท้ หรือ ฟิลเลอร์ที่เป็นสารเติมเต็มจาก Hyaluronic Acid แล้วเป็นก้อน ก็สามารถฉีดสลายได้โดยใช้ ไฮยาลูโรนิเดส ฉีดสลาย หลังฉีดสลายจะเห็นผลหลังฉีดทันที เมื่อฉีดเข้าไปแล้วตัวยาจะทำให้ลดการกักเก็บน้ำ ไขมัน และทำลายการยึดเกาะของฟิลเลอร์ ช่วยทำให้ฟิลเลอร์เกิดการคลายตัวออก จำเป็นต้องใช้ปริมาณไฮยาลูโรนิเดส ที่จะฉีดสลายมากกว่าปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปประมาณ 3-5 เท่า
- การขูดฟิลเลอร์ : เป็นการแก้ไขสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภทกึ่งถาวรที่ไม่สามารถสลายเองได้ แต่สามารถนำฟิลเลอร์ออกได้ประมาณ 60-70% เท่านั้น ไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด
- การทำศัลยกรรมผ่าตัดฟิลเลอร์ : เป็นการแก้ไขสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมหรือซิลิโคนเหลว ที่เป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก หรืออยู่นานจนมีพังผืด ไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด 100% ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งที่ฉีด บางบริเวณจะต้องเลี่ยงเพื่อป้องกันอันตราย